ข่าว

ข่าวและกิจกรรม

rss

ข่าวและกิจกรรมเกี่ยวกับโครงการ SMEs Pro-active

310364 AW ส่องกระแสการช็อปปิ้งสาวจีน.jpg

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันประเทศจีนเปิดกว้างทางเศรษฐกิจมากขึ้น ผู้บริโภคชาวจีนจำนวนไม่น้อยมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง ทำให้สินค้านำเข้าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคในยุคของการยกระดับการบริโภคผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของผู้บริโภคจีนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อวิเคราะห์โอกาสในการเจาะตลาด และประเมินศักยภาพการแข่งขันของสินค้าไทยในสายตาของผู้บริโภคจีน

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) รายงานว่า พฤติกรรมการบริโภคของผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น ผู้หญิงจีนยุคใหม่ส่วนใหญ่รักอิสระและมีความต้องการบริโภคมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับรายงานแนวโน้มคุณภาพชีวิตของสาวจีนปี 2020 ของศูนย์วิจัยข้อมูลและการตลาดของจีน (CBNData) ระบุว่า ผู้หญิงจีนกว่าร้อยละ 97 เป็นผู้ตัดสินใจในการเลือกซื้อของในบ้าน และการบริโภคมีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 47 ล้านล้านบาท ซึ่งรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้หญิงจีนจะอยู่ที่ 3,930 หยวน หรือประมาณ 18,700 บาท เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายในการบริโภคแล้ว พบว่า เทรนด์และพฤติกรรมการบริโภคของผู้หญิงจีนยุคใหม่ มีดังนี้

เทรนด์ที่ 1 ผู้หญิงจีนยุคใหม่ใช้จ่ายเพื่อตนเอง และให้ความสำคัญกับการบริโภคเพื่อสร้างประสบการณ์ส่วนตัว

ผู้หญิงชาวจีนส่วนใหญ่เลือกใช้จ่าย หรือบริโภคเพื่อให้ตนเองมีความสุข แสวงหาชีวิตที่สะดวกสบาย โดยผลการสำรวจของบริษัทวิจัยการตลาดของจีน (iResearch) เปิดเผยว่า ผู้หญิงจีนยุคใหม่ร้อยละ 44 ให้ความสำคัญกับการบริโภคเพื่อสร้างประสบการณ์ส่วนตัวและยินดีที่จะจ่ายเพื่อให้ตนเองมีความสุข อีกทั้งส่วนใหญ่เปิดแอปพลิเคชันเพื่อเลือกดูสินค้าฟุ่มเฟือยโดยใช้เวลาประมาณ 3.4 วันต่อเดือน

เทรนด์ที่ 2 ผู้หญิงจีนส่วนใหญ่ใช้จ่ายในการซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ

ผู้หญิงจีนร้อยละ 45 มีค่าใช้จ่ายในการซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณกว่า 3,000 หยวนต่อปี หรือประมาณ 14,250 บาทต่อปี และใช้เวลาในการดูแลผิวพรรณต่อวันประมาณ 20 นาที โดยพบว่า ผู้หญิงจีนวัย Gen Z ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมที่ดีและมีประสิทธิภาพในการดูแลผิวพรรณอย่างครบวงจร และศึกษาส่วนผสมและสูตรของผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะเลือกซื้อ ซึ่งส่วนผสมสำหรับผลิตภัณฑ์บริเวณใบหน้าที่ผู้หญิงจีนให้ความสำคัญ ได้แก่ นิโคติน กรดอะมิโน และเซราไมด์ ตามลำดับ

เทรนด์ที่ 3 ผู้หญิงจีนนิยมเลือกซื้อเครื่องแต่งกายตามดาราหรือเน็ตไอดอลที่ตนเองชื่นชอบ

ผู้บริโภคกว่าร้อยละ 73 มีความยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าแฟชั่นตามดาราหรือเน็ตไอดอลที่ตนเองชื่นชอบ ซึ่งสอดคล้องกับมูลค่าและจำนวนผู้บริโภคเครื่องแต่งกายที่มีลักษณะเหมือนกับดาราในปี 2020 ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 เท่า ขณะที่เสื้อผ้าแฟชั่นแบบจีนและสินค้าที่มีทรัพย์สินทางปัญญา (IP) บนแพลตฟอร์ม Tmall ก็มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน

เทรนด์ที่ 4 ผู้หญิงจีนให้ความสำคัญและตระหนักในเรื่องสุขภาพมากขึ้น

ผู้หญิงร้อยละ 50 ออกกำลังกายมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไปต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่บ้านเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ในขณะที่รูปแบบการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ โยคะ อุปกรณ์ฟิตเนส แผ่นเกมเต้น และเครื่องลู่วิ่ง ตามลำดับ

เทรนด์ที่ 5 ผู้หญิงจีนในวัยที่กำลังมีครอบครัวจะให้ความสำคัญกับตนเองเป็นพิเศษ

ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ชาวจีนมักจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการดูแลปกป้องตนเอง อาทิ ผลิตภัณฑ์ป้องกันท้องลายและแผลเป็น ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูหลังคลอด การจัดการรูปร่างหลังคลอด โดยคุณแม่ชาวจีนกว่าร้อยละ 86 ยินดีที่จะลองผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็กที่ให้ความสะดวกสบายสูง ทำให้ผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็กที่มีนวัตกรรมสมัยใหม่ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า อาทิ เครื่องปั้มนม 2 ข้างแบบสวมใส่ เป็นต้น

เทรนด์ที่ 6 ผู้หญิงจีนนิยมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รสผลไม้ที่มีกลิ่นและรสหวานมากขึ้น

ผู้หญิงชาวจีนเริ่มนิยมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รสผลไม้ที่มีกลิ่นและรสหวานมากขึ้น ซึ่งรสชาติของแอลกอฮอล์ผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ พลัม พีช และส้มโอ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้หญิงจีนมักจะเลือกซื้อเครื่องดื่มดังกล่าวจากรูปลักษณ์ภายนอก และเครื่องดื่มที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ต่ำ จะได้รับความนิยมมากกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วไป

“ผู้หญิงจีนเป็นผู้บริโภคที่มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการมากขึ้นเรื่อยๆ มีกำลังซื้อสูง และตัดสินใจจับจ่ายได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น พฤติกรรมและรูปแบบการบริโภคของผู้หญิงจีนจึงถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงเป็นจำนวนมาก เบื้องต้นอาจอาศัยแพลตฟอร์ม หรือสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่เป็นที่นิยมของผู้หญิงจีน เพื่อง่ายต่อการเจาะกลุ่มตลาดและลงทุนน้อย ซึ่งในระยะต่อมา หากผู้ประกอบการไทยเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของผู้หญิงจีนมากขึ้นแล้ว ก็สามารถพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือช่องทางการตลาดอื่นๆ ที่อาจมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและรูปแบบการบริโภคของผู้หญิงจีนมากขึ้น” สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว ให้ข้อมูลเพิ่มเติม

ในประเทศจีนนั้นมีงานแสดงสินค้าจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีหลายงาน อาทิ (1) CHINA BEAUTY EXPO ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ (2) Canton Fair ณ เมืองกวางโจว (3) China Beijing International Gifts,  Premium & Houseware Exhibition ณ กรุงปักกิ่ง เป็นต้น ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลและหลักเกณฑ์โครงการเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์โครงการ https://smesproactive.ditp.go.th/ หรือ Facebook Page : SMEs Pro-active by DITP สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0 2507 7783 หรือ 0 2507 7786 ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป



Comments are closed.

Tags

#5G #5G&FutureMobility #5GNetwork #5GTechnology #agritech #AI #BYONDMOBILE #BYONDThursday #CyberSecurity #DITP #DITP-#SMEs-#SMEsPro-active #DITP-#SMEsPro-active-#SMEs #Efficiency #Fashionweek #foodtech #IoT #mobilecommunications #sevenpeakssoftware #ShiftUptoGlobal #Showroom #smartfarming #SME #SMEs #SMEs-#SMEsPor-active-#กร #SMEsProActive #SMEsPro-active #SMEsPro-active-#SMEs-#DITP #SMEsPro-active-#กร #sustainability #VirtualExhibition #Webinar #กร #กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ #การเจรจาธุรกิจ #งานแสดงสินค้า #งานแสดงสินค้าไฮบริด #ผู้ประกอบการSMEs-#อัญ #ส่งออก #ส่งออกต่างประเทศ #ส่งออกอินเดีย #สถาบันSMIเคียงคู่ผู้ประกอบการ #สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย #อัญ #โอกาสSMEsไทยรุกไกลตลาดโลก DITP ditp-smes-pro-active- ditp-startup-Smes-pro-active e-Commerce FashionWeek Fashion-Week NEA Plant-Based Showroom SMEs smesproactive SMEs-Pro-active smes-pro-active- SMEsPro-active TOPTHAI Trade-Fair vdo VDO-Clip-แนะนำโครงการ-SMEs-Pro-active Virtual VirtualExhibition Virtual-Exhibition กรมส่งเสริมการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ การนำเข้าของสหรัฐอเมริกา การส่งออก การส่งออกไทย กิจกรรม ขยายการส่งออก ขยายตลาด ขยายสู่ตลาดต่างประเทศ ข่าว แคนาดา งานแสดงสินค้า งานแสดงสินค้าญี่ปุ่น งานแสดงสินค้าเสมือนจริง เจาะตลาดจีน ช่วยเหลือเยียวยา ช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการ ซอส&เครื่องปรุงรส ตลาดเครื่องสำอาง ตลาดเครื่องสำอางมาเลเซีย ตลาดซอส ตลาดออร์แกนิก ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยง โตเกียว ทิศทางการบริโภคเพื่อสุขภาพของชาวออสเตรเลีย เนื้อสัตว์ที่ทำมาจากพืช แนวโน้มตลาด ประชุมรอบพิเศษ ผลไม้กระป๋อง ผู้ประกอบการ-SMEs เพิ่มมูลค่าและขยายตลาดส่งออก ฟิลิปปินส์ ภาพรวมธุรกิจอาหาร มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการการเงิน มาตรการทางศุลกากร มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ยุโรป เยอรมัน ร้านค้าออนไลน์ ส่งเสริ ส่งออก ส่งออกแคนาดา ส่งออกจีน ส่งออกญี่ปุ่น ส่งออกไทย สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ออสเตรเลีย อาหารที่ทำมาจากพืช อาหารพร้อมทาน อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน ฮ่องกง