ข่าว

ข่าวและกิจกรรม

rss

ข่าวและกิจกรรมเกี่ยวกับโครงการ SMEs Pro-active

เจาะลึก GEN Z Y Canada.jpg

‘การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย’ คือขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการทำการตลาด โดยเกณฑ์ที่นักการตลาดมักนำมาใช้ในการแบ่งกลุ่มเป้าหมายนั่นก็คือ ‘อายุ’ หรือ ‘ช่วงวัย’ นั่นเอง เพราะผู้บริโภคแต่ละช่วงวัยนั้นต่างเติบโตมาพร้อมกับประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกัน ซึ่งนั่นก็ทำให้นักการตลาดสามารถประเมินเบื้องต้นได้ว่าผู้บริโภคในแต่ละช่วงวัยนั้นมีพฤติกรรมและความชอบแตกต่างกันในภาพรวมอย่างไร 

วันนี้ SMEs Pro-active จึงจะมาแนะนำถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค 2 กลุ่ม ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นกลุ่มตลาดที่ใหญ่ที่สุดของแคนาดาในอนาคต ได้แก่ ผู้บริโภค ‘Gen Z’ ซึ่งเกิดระหว่างปี 1996-2012 และผู้บริโภค ‘Gen Y’ หรือ ‘Millennials’ ซึ่งเกิดระหว่างปี 1981-1995 โดยทั้งสองกลุ่มต่างเป็นผู้บริโภคยุคใหม่ที่เติบโตมาพร้อมกับโลกดิจิทัล เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต และโซเซียลมีเดีย ที่ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาและนำไปปรับใช้กับแบรนด์ของตนเองจะมีอะไรน่าสนใจบ้าง ไปดูพร้อมๆ กัน

ประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience) vs การส่งเสริมการขายออนไลน์ (Online Promotion) 

‘Customer Experience’ หรือ ‘ประสบการณ์ลูกค้า’ นั้นเป็นปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y ที่มักให้ความสำคัญและยินดีที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับ ‘ประสบการณ์ร่วม’ กับสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เช่น การชมการสาธิตสินค้า การชิมและทดลองทำอาหาร หรือการทดลองเครื่องสำอางภายในห้างสรรพสินค้าด้วยตนเอง เป็นต้น สอดคล้องกับพฤติกรรมของชาว Gen Y ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยว ความท้าทาย และการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่นนอกสถานที่นั่นเอง 

แตกต่างจากผู้บริโภค Gen Z ที่มักไม่ได้ให้ความสำคัญกับ ‘ประสบการณ์ร่วม’ เท่ากับชาว Gen Y แต่จะระมัดระวังการใช้เงินมากกว่า โดยนิยมซื้อสินค้าราคาประหยัดผ่าน ‘ดีลสินค้าโปรโมชั่น’ ในช่องทางออนไลน์ สอดคล้องกับพฤติกรรมของชาว Gen Z ที่ใช้เวลาส่วนมากไปกับมือถือ โซเชียลมิเดีย และการซื้อสินค้าออนไลน์นั่นเอง 

ความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) vs ความคุ้มค่าของสินค้า (Product Value) 

หลายครั้งที่ผู้บริโภคมักเลือกจะซื้อสินค้าชิ้นหนึ่งจากความน่าเชื่อถือของ ‘แบรนด์’ ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันมาอย่างยาวนาน แต่ไม่ใช่กับผู้บริโภครุ่นใหม่อย่างชาว Gen Z ที่มักจะให้ความสำคัญกับ ‘Brand Loyalty’ น้อยกว่าผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y เป็นอย่างมาก โดยชาว Gen Z นั้นเลือกที่จะให้ความสำคัญกับ ‘ความคุ้มค่าของสินค้า’ หรือ ‘Product Value’ เป็นหลัก เนื่องด้วยชาว Gen Z นั้นมีทักษะทางดิจิทัลที่ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลายช่องทาง ประกอบกับแนวคิดแบบ Critical Thinking ที่ทำให้ชาว Gen Z ไม่เชื่อคำโฆษณาสินค้าในทันที แต่มักจะค้นหาข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมก่อนเสมอ โดยก่อนจะเลือกซื้อสินค้าสักชิ้นนั้น ชาว Gen Z มักจะค้นหา Product Review จากผู้ใช้จริงผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อนำข้อดีและข้อเสียของสินค้าแต่ละแบรนด์มาเปรียบเทียบกันอย่างละเอียด โดยใช้ความน่าเชื่อถือของแบรนด์เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งในการตัดสินใจซื้อเท่านั้น 

มองโลกในแง่ดี (Idealistic) vs มองข้อเท็จจริง (Pragmatic) 

สภาพเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัย ก็ส่งผลให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมและนิสัยที่แตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น นิสัยแบบ ‘Idealistic’ ของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y ที่มักจะมองหาสังคมแบบอุดมคติ ที่ผู้คนต่างมีความเท่าเทียม ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และมองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่ชาว Gen Y ได้เติบโตมาในครอบครัวของ Baby Boomer ที่มีความมั่งคั่ง จากยุคที่เศรษฐกิจเติบโตขาขึ้นนั่นเอง  

ในทางกลับกัน ผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z มักมีนิสัยแบบ ‘Pragmatic’ ที่มองโลกตามความเป็นจริงมากกว่า โดยมักจะให้ความสำคัญกับ ‘ข้อมูลข้อเท็จจริง’ และ ‘ราคาสินค้า’ เนื่องจากชาว Gen Z ส่วนใหญ่เติบโตมาท่ามกลางความไม่แน่นอนของรายได้จากวิกฤตเศรษฐกิจ และความไม่แน่นอนของสังคม . ทั้งหมดนี้อาจสรุปง่าย ๆ ได้ว่าชาว Gen Z มักมีความอ่อนไหวต่อราคาสินค้า (Price Sensitive) เมื่อเทียบกับคุณภาพ ในขณะที่ชาว Gen Y มักมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยทางความรู้สึกอื่น ๆ เช่น การมีประสบการณ์ร่วมกับสินค้า เป็นต้น 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโทรอนโต https://bit.ly/2VXUrsX



Comments are closed.

Recent Posts

Read More

Tags

#5G #5G&FutureMobility #5GNetwork #5GTechnology #agritech #AI #BYONDMOBILE #BYONDThursday #CyberSecurity #DITP #DITP-#SMEs-#SMEsPro-active #DITP-#SMEsPro-active-#SMEs #Efficiency #Fashionweek #foodtech #IoT #mobilecommunications #sevenpeakssoftware #ShiftUptoGlobal #Showroom #smartfarming #SME #SMEs #SMEs-#SMEsPor-active-#กร #SMEsProActive #SMEsPro-active #SMEsPro-active-#SMEs-#DITP #SMEsPro-active-#กร #sustainability #VirtualExhibition #Webinar #กร #กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ #การเจรจาธุรกิจ #งานแสดงสินค้า #งานแสดงสินค้าไฮบริด #ผู้ประกอบการSMEs-#อัญ #ส่งออก #ส่งออกต่างประเทศ #ส่งออกอินเดีย #สถาบันSMIเคียงคู่ผู้ประกอบการ #สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย #อัญ #โอกาสSMEsไทยรุกไกลตลาดโลก AUTOMECHANIKA-Shanghai-2024 ditp ditp-smes-pro-active- ditp-startup-Smes-pro-active e-Commerce FashionWeek Fashion-Week NEA Plant-Based Showroom smeproactive SMEs smesproactive SMEs-Pro-active smes-pro-active- SMEsPro-active SMI TOPTHAI Trade-Fair vdo VDO-Clip-แนะนำโครงการ-SMEs-Pro-active Virtual VirtualExhibition Virtual-Exhibition กรมส่งเสริมการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ การนำเข้าของสหรัฐอเมริกา การส่งออก การส่งออกไทย กิจกรรม ขยายการส่งออก ขยายตลาด ขยายสู่ตลาดต่างประเทศ ข่าว แคนาดา โครงการ งานแสดงสินค้า งานแสดงสินค้าญี่ปุ่น งานแสดงสินค้าเสมือนจริง เจาะตลาดจีน ช่วยเหลือเยียวยา ช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการ ซอส&เครื่องปรุงรส ตลาดเครื่องสำอาง ตลาดเครื่องสำอางมาเลเซีย ตลาดซอส ตลาดออร์แกนิก ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยง โตเกียว ทิศทางการบริโภคเพื่อสุขภาพของชาวออสเตรเลีย เนื้อสัตว์ที่ทำมาจากพืช แนวโน้มตลาด ประชุมคณะทำงาน ประชุมรอบพิเศษ ผลไม้กระป๋อง ผู้ประกอบการ-SMEs เพิ่มมูลค่าและขยายตลาดส่งออก ฟิลิปปินส์ ภาพรวมธุรกิจอาหาร มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการการเงิน มาตรการทางศุลกากร มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู ยุโรป เยอรมัน ระยะที่4 ร้านค้าออนไลน์ ส่งเสริ ส่งออก ส่งออกแคนาดา ส่งออกจีน ส่งออกญี่ปุ่น ส่งออกไทย สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ออสเตรเลีย อาหารที่ทำมาจากพืช อาหารพร้อมทาน อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน ฮ่องกง